วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ช็อคโกแลตที่แพงที่สุดในโลก

เมนูช็อคโกแลตนี้มีชื่อว่า ฟรอซเซ่น โอต์ ช็อคโกแลต (Frrozen Haute Chocolate) เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของ สตีเฟน บรูซ เจ้าของร้าน เซเรนดิพิตี้ 3 ร่วมกับยูโฟเรีย ร้านอัญมณีของนิวยอร์ค เป็นช็อคโกแลตซันเดร้อน ที่ผสมผสานกันระหว่างโกโก้ 28 ชนิด ในจำนวนนี้รวมถึงโกโก้หายาก 14 ชนิดที่มีราคาแพงที่สุดจากทั่วโลก เสิร์ฟในถ้วยแก้วราดด้วยวิปครีมโรยหน้าทับด้วยผงทองคำ 23 กะรัตชนิดกินได้ ภาชนะถ้วยแก้วนี้ก็ไม่ใช่ถ้วยแก้วธรรมดา แต่เป็นถ้วยแก้วที่มีทองคำ18 กะรัตตกแต่งเป็นสร้อยโอบรอบโคนถ้วยประดับเพชรสีขาวน้ำหนัก 1 กะรัต นอกจากนี้ช้อนที่ใช้ตักกินก็เป็นช้อนทองคำที่ประดับด้วยเพชรสีขาว และสีช็อคโกแลต สนนราคาของหวานมื้อนี้รวมถึงค่าถ้วยและช้อนที่ลูกค้าสามารถนำกลับบ้านได้ด้วย เมื่อ 4 ปีที่แล้วร้านอาหารแห่งนี้เคย มีเมนูของหวาน เป็นไอศครีมซันเด ที่มีชื่อว่า โกลเด้น โอปูเลนซ์ ราคา 1 พันดอลลาร์ หรือประมาณ 35,000 บาท ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มนักร้องเพลงร็อค และบุคคลที่มีชื่อเสียง เจ้าของร้านบอกว่า ทั้งสองเมนูนี้จะขายให้เฉพาะลูกค้าที่สั่งไว้ล่วงหน้าเท่านั้น และตอนนี้ก็มีคนสั่งฟรอซเซ่น โอต์ ช็อคโกแลต แล้วหลายคน ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปที่กำลังจะเดินทางมาเที่ยวที่นิวยอร์ค 

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ครัวซ็อง

*ครัวซ็อง* (ฝรั่งเศส
: croissant, ออกเสียง: /kʀwa.sɑ̃/) ครัวซ็องเป็นขนมที่มีส่วนผสมของเนย หรือเป็นที่รู้จักกันดีในขนมปังรูปจันทร์เสี้ยว ครัวซ็องและขนมอบประเภทนี้มีการนำแป้งมาม้วนเป็นชั้นๆก่อนเข้าตู้อบ ส่วนผสมในชั้นของแป้งที่มีส่วนผสมของเนยถูกม้วนและพับไปมาจนกลายเป็นรูปร่างของขนมครัวซ็องในลักษณะเป็นแผ่นบางๆซ้อนกัน และมีลักษณะเป็นแผ่นเกล็ดเล็กๆหลังจากการเข้าตู้อบแล้ว ขนมรูปจันทร์เสี้ยวเกิดขึ้นในสมัยของช่วงยุคกลาง และเค้กต่างๆในรูปจันทร์เสี้ยวนั้นมีมาตั้งแต่สมัยก่อนหน้านี้
ครัวซ็องนั้นกลายมาเป็นอาหารหลักตามร้านขนมต่างๆของประเทศฝรั่งเศส ในปลายทศวรรษปีค.ศ.1970 มีการพัฒนารูปแบบโรงงานการผลิตอาหารแช่แข็ง โดยการนำส่วนผสมต่างๆของแป้งที่พร้อมอบ แปลงสภาพเป็นอาหารที่สามารถเตรียมได้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการทำอาหาร ขนมครัวซ็องจากประเทศฝรั่งเศส เป็นขนมอีกอย่างที่สามารถตอบโจทย์ในรูปแบบอาหารจานด่วนของประเทศอเมริกาอย่างเห็นได้ชัด ในปัจจุบันนี้ครัวซ็องจำนวน 30-40% ที่ขายตามร้านขนมในประเทศฝรั่งเศสมาจากการแช่แข็งก่อนนำไปอบ และยังได้รับความนิยมในการรับประทานอาหารเช้าจนถึงทุกวันนี้

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

*ซีแลนด์*

*ซีแลนด์* (อังกฤษ
: Principality of Sealand) เป็น ประเทศจำลอง
 ตั้งอยู่ที่ป้อมปราการทางทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร
ชื่อ "HM Fort Rough" (หรือเรียกกันว่า Rough Towers) ที่สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อปี พ.ศ. 2487
 ซึ่งห่างออกจากชายฝั่งอังกฤษ
ทางด้านทะเลเหนือ 10 กิโลเมตร(6ไมล์ทะเล) ถือได้ว่าเป็นประเทศจำลองซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลก

หมู่เกาะกาลาปาโกส

*หมู่เกาะกาลาปาโกส* (สเปน
: Islas Galápagos;อังกฤษ
: Galápagos Islands) เป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิก
 มีความน่าสนใจทั้งด้านธรณีวิทยา
 สัตววิทยา และนิเวศวิทยาเป็นอย่างยิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ โดยมีชื่อ
ภาษาสเปน
อย่างเป็นทางการว่า *กลุ่มเกาะโกลอน* 
(Archipiélago de Colón; Islas de Colón) ตั้งอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ห่างจากทวีปออกไปทางตะวันตก 1,000 กิโลเมตร
ในปี พ.ศ. 2550 องค์การยูเนสโกได้จัดมรดกโลกแห่งนี้ให้เป็นมรดกโลกที่อยู่ในสภาวะอันตราย

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

*เจมส์ คุก*

*เจมส์ คุก* (27 ตุลาคมค.ศ. 1728
 - 14 กุมภาพันธ์ค.ศ. 1779) เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษ
 และยังเป็นนักทำแผนที่อีกด้วย เขาได้เดินทางไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก
สามครั้ง ซึ่งก็ได้ทำแผนที่แนวชายฝั่งไว้ส่วนใหญ่ กัปตัน เจมส์ คุก เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้ามาสำรวจประเทศออสเตรเลียและยึดออสเตรเลียเป็นอาณานิคมของอัง
กฤษ
 เป็นผู้ค้นพบเกาะฮาวายนอกจากนี้เขายังเป็นผู้คนพบเกาะอีกหลายแห่ง เช่น เกาะนิวซิแลนด์ เป็นต้น เจมส์ คุก ถูกฆ่าตายระหว่างการต่อสู้กับชนพื้นเมืองฮาวาย ที่อ่าวเกียลาคีกัว เกาะฮาวายในปี ค.ศ. 1779

*ช่องแคบยิบรอลตาร์*

*ช่องแคบยิบรอลตาร์* (อาหรับ
:مضيق جبل طارق‎;สเปน
: Estrecho de Gibraltar; อังกฤษ
:Strait of Gibraltar) เป็นช่องแคบ
ที่เชื่อมต่อมหาสมุทรแอตแลนติก
กับทะเลอัลโบรัน (ส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
) และแยกประเทศสเปน
ออกจากประเทศโมร็อกโก

ชื่อช่องแคบนี้มาจากชื่อดินแดนยิบรอลตาร์
(Gibraltar) ที่มีต้นกำเนิดอีกทีมาจากคำอาหรับ
ว่า"Jebel Tariq" (جبل طارق) หมายถึง "ภูเขาของตอริก" ตอริกในที่นี้คือนายพลเบอร์เบอร์
ที่ชื่อ ตอริก อิบน์ ซิยัด (Tariq ibn-Ziyad) ผู้นำการพิชิตฮิสปาเนียของอิสลามในปี ค.ศ. 711
 (พ.ศ. 1254) ช่องแคบนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "สตร็อก" (Strog:Strait of Gibraltar) ซึ่งมักใช้กันในวงทหารเรือ

*เนลสัน โรลีลาลา แมนเดลา*

*เนลสัน โรลีลาลา แมนเดลา* (กโฮซา: Nelson Rolihlahla Mandela, [xoˈliɬaɬa manˈdeːla]) เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม
 พ.ศ. 2461
 ที่ดินแดนปกครองตนเองทรานสไก ประเทศแอฟริกาใต้
[1]
 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2542 และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตย
อย่างถูกต้อง ก่อนหน้าการดำรงตำแหน่งนี้นี้ เขาได้เป็นที่รู้จักกันทั้งในและนอกประเทศในฐานะที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวตัวยงเพื่อต่อต้านการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้
 จากที่แรกเริ่มเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางสันติ ได้กลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา
 และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ดินโดยใช้อาวุธ เช่น การก่อวินาศกรรม ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้นำต่างชาติที่นิยมการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ เช่น มาร์กาเรต แทตเชอร์
 และโรนัลด์ เรแกน
 ได้ประณามกิจกรรมเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้าย

เขาถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการถูกคุมขังในห้องขังเล็ก ๆ บนเกาะโรบเบิน
 การถูกคุมขังนี้ได้กลายมาเป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายการถือผิวที่ถูกกล่าวถึงไปทั่ว เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2533
 นโยบายประสานไมตรีที่เนลสันได้นำมาใช้ทำให้แอฟริกาใต้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แห่งประชาธิปไตย เป็นที่ยกย่องอย่างสูงภายในประเทศแอฟริกาใต้ในฐานะรัฐบุรุษ
อาวุโส ชาวแอฟริกันขนานนามสมาชิกชายอาวุโสของตระกูลแมนเดลาอย่างให้เกียรติว่า *มาดิบา* แต่มักเจาะจงหมายถึงเนลสัน แมนเดลาเท่านั้น เนลสัน แมนเดลา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ที่บ้านของเขาในโจฮันเนสเบิร์ก หลังจากเจ็บป่วยมาเป็นเวลานาน
เขาได้รับรางวัลต่าง ๆ มากกว่า 250 รางวัล
ตลอดช่วงเวลา 4 ทศวรรษ รางวัลที่สำคัญที่สุดคือ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
 ประจำปี พ.ศ. 2536

*เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน*

*เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน* (อังกฤษ
: Ferdinand Magellan), *ฟืร์เนา ดึ มากัลไยช์* (โปรตุเกส
:Fernão de Magalhães) หรือ *เฟร์นันโด เด มากายาเนส* (สเปน
: Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
 แห่งกรุงศรีอยุธยา
 เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส
หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออก
และโมร็อกโก
 มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน
เพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะ
ในประเทศอินโดนีเซีย
ในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย
มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียา
ในปี พ.ศ. 2062
 การเดินทางในช่วง พ.ศ. 2062-2065
 ของเขาเป็นการเดินเรือจากมหาสมุทรแอตแลนติก
เข้าสู่มหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก
" เป็นครั้งแรก และยังเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกอีกด้วย แต่ตัวมาเจลลันเองไม่ได้เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกตลอดเส้นทาง เนื่องจากถูกชนพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะมักตันในหมู่เกาะฟิลิปปินส์
เสียก่อน (อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มาเจลลันเคยเดินทางจากยุโรปไปทางตะวันออกสู่คาบสมุทรมลายู
มาแล้ว จึงเป็นนักสำรวจคนแรก ๆ ที่เดินทางข้ามเส้นเมอริเดียนเกือบทุกเส้นบนโลก) จากลูกเรือ 237 คนที่ออกเดินทางไปกับเรือ 5 ลำ มีเพียง 18 คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จและกลับไปสเปนได้ในปี พ.ศ. 2065
นำโดยควน เซบัสเตียน เอลกาโน นักเดินเรือชาวบาสก์
ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการเดินเรือแทนมาเจลลัน ส่วนลูกเรือลำอื่น ๆ อีก 16 คนมาถึงสเปนในภายหลัง โดย 12 คนในจำนวนนี้ถูกโปรตุเกสคุมตัวที่หมู่เกาะเคป
เวิร์ด
 (กาบูเวร์ดี) ระหว่าง พ.ศ. 2068
-2070 และอีก 4 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากเรือตรีนีดัดที่เดินทางไปด้วย แต่เรือแตกในหมู่เกาะโมลุกกะ
ชื่อของมาเจลลันยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของ "เพนกวินมาเจลลัน
" ซึ่งเชื่อกันว่าเขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบ,"เมฆมาเจลลัน" ซึ่งเขาสังเกตเห็นระหว่างการเดินเรือ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าที่จริงเมฆนี้เป็นกลุ่มดาราจักรแคระใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือก
, "ช่องแคบมาเจลลัน"
เส้นทางที่มาเจลลันใช้เดินเรือเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และ "ยานมาเจลลัน" ยานสำรวจที่องค์การนาซา
ส่งไปสำรวจดาวศุกร์
ในช่วงปี พ.ศ. 2533
-2534

เกาะมาดากัสการ์

*เกาะมาดากัสการ์* (อังกฤษ
: Madagascar Island) เกาะ
มาดากัสการ์ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกาบนมหาสมุทรอินเดีย
 มีช่องแคบโมซัมบิก
คั่นระหว่างเกาะกับฝั่งทวีปแอฟริกา
ห่างกันเพียง 300 ไมล์ เกาะมาดากัสการ์มีพื้นที่ 587,713 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
 ขนาดเท่า ๆ กับประเทศสเปน
และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรอินเดีย
 ซึ่งทั้งเกาะเป็นอาณาเขตของประเทศมาดากัสการ์
 สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขา
สูงและที่ราบสูงในระดับตั้งแต่ 800-1800 เมตร มีที่ราบลุ่มอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะมีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้
คำว่า "มาดากัสการ์" มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งบรรพบุรุษ" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นี่มีความเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจะยังคงปกป้องสิ่งที่ชีวิตที่เหลือ เกาะมาดากัสการ์เริ่มมีมนุษย์เข้ามาอาศัยราว 2,000 ปีที่แล้ว ไม่ใช่มาจากผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกา หากแต่อพยพมาไกลจากอินโดนีเซีย
[1]

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติ แวมไพร์

*แวมไพร์* (อังกฤษ: Vampire) ผีชนิดหนึ่งตามความเชื่อของชาวยุโรป
 ในยุคกลาง
 เชื่อว่าเป็นผีดิบ ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดของมนุษย์ด้วยกันเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยง โดยที่แวมไพร์จะมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย จะปรากฏตัวได้แต่เฉพาะเวลากลางคืน เพราะกลางวันแพ้แสงแดด แวมไพร์จะหลบซ่อนอยู่ในโลงของตนหรือในหลุมในเวลากลางวัน สามารถแปลงร่างได้หลายแบบ เช่น ค้างคาว, นกฮูก, หมาป่า, กบ, คางคก, แมลงเม่า, งูพิษ เป็นต้น สามารถกำบังกายหายตัวได้ ไม่มีเงาเมื่อกระทบกับแสงหรือสะท้อนในกระจก มีแรงมากเหมือนผู้ชาย 20 คน สิ่งที่จะกำราบแวมไพร์ได้คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน
, น้ำมนตร์ หรือแม้กระทั่งสมุนไพรกลิ่นแรงบางชนิด เช่น กระเทียม
 วิธีฆ่าแวมไพร์มีมากมาย เช่น ตอกลิ่มให้ทะลุหัวใจ เผา หรือ ตัดหัวด้วยจอบของสัปเหร่อ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของมัน จะกลายเป็นแวมไพร์ไปด้วย และกลายเป็นสาวกของแวมไพร์ตนที่ดูดเลือด
ตัวเองชาวยุโรปในยุคกลางนั้นหวาดกลัวแวม
ไพร์มาก ผู้ที่สงสัยว่าเป็นแวมไพร์จะตกอยู่ในสถานะเดียวกับแม่มด หรือ มนุษย์หมาป่า
 คือ ถูกตัดสินลงโทษด้วยการเอาถึงชีวิต มีวิธีการป้องกันการรุกรานของแวมไพร์หลายวิธี เช่น บางหมู่บ้านจะโปรยเมล็ดข้าวไว้บนหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าแวมไพร์จะง่วนกับการนับเมล็ดข้าวเป็นการถ่วงเวลาจนรุ่งเช้า หรือ โรยเศษขนมปังไว้ตั้งแต่สุสานให้แวมไพร์เดินเก็บเศษขนมนั้นวนเวียนไปมา หรือแม้แต่การวางไม้กางเขนหรือดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเพื่อเป็นการพันธนาการไว้ในโลง
เรื่องราวของผีแวมไพร์ มีมากมาย ที่เป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรม โดยวรรณกรรมที่ว่าถึงแวมไพร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน
 วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของแวมไพร์คือ เรื่องแดรกคูลา ของบราม สโตกเกอร์
 ที่โด่งดังจนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละคร ละครเวที หรือแม้แต่กระทั่งภาพยนตร์การ์ตูนมากมายตราบจนปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์เรื่อง "Nosferatu : A Symphony of Horror
" ในปี ค.ศ. 1922 เป็นต้น
เป็นไปได้ว่าความเชื่อเรื่องของแวมไพร์ที่สามารถแปลงร่างเป็นค้างคาวได้ อาจมีที่มาจากที่ภูมิภาคอเมริกากลาง
และทวีปอเมริกาใต้
 มีค้างคาวขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Desmodontinae
มีพฤติกรรมดูดเลือดสัตว์ที่ใหญ่กว่าเป็นอาหารในเวลากลางคืน ซึ่งค้าวคาวในวงศ์นี้ก็ได้มีการเรียกชื่อสามัญว่า "แวมไพร์" เช่นกัน

ประวัติซอมบี้

*ซอมบี* (อังกฤษ: zombie) เป็นคำเรียกคนที่ตายไปแล้วแต่กลับมาเดินเหินได้ราวกับมีชีวิตอีกครั้งตามความเชื่อของลัทธิวูดู
 เรื่องราวในลัทธิวูดูนั้นกล่าวถึงซอมบีว่าถูกควบคุมด้วยเวทมนตร์ให้ทำงานใช้แรงงานให้พ่อมด
 แต่ภาพลักษณ์ของซอมบีในวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งปรากฏผ่านสื่อต่างๆนั้นต่างจากในลัทธิวูดู
มาก โดยสาเหตุสำคัญนั้นมาจากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง "Night of the Living Dead"[1] ของจอร์จ โรเมโร