*เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน* (อังกฤษ
: Ferdinand Magellan), *ฟืร์เนา ดึ มากัลไยช์* (โปรตุเกส
:Fernão de Magalhães) หรือ *เฟร์นันโด เด มากายาเนส* (สเปน
: Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
แห่งกรุงศรีอยุธยา
เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส
หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออก
และโมร็อกโก
มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน
เพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะ
ในประเทศอินโดนีเซีย
ในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย
มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียา
ในปี พ.ศ. 2062
การเดินทางในช่วง พ.ศ. 2062-2065
ของเขาเป็นการเดินเรือจากมหาสมุทรแอตแลนติก
เข้าสู่มหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก
" เป็นครั้งแรก และยังเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกอีกด้วย แต่ตัวมาเจลลันเองไม่ได้เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกตลอดเส้นทาง เนื่องจากถูกชนพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะมักตันในหมู่เกาะฟิลิปปินส์
เสียก่อน (อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มาเจลลันเคยเดินทางจากยุโรปไปทางตะวันออกสู่คาบสมุทรมลายู
มาแล้ว จึงเป็นนักสำรวจคนแรก ๆ ที่เดินทางข้ามเส้นเมอริเดียนเกือบทุกเส้นบนโลก) จากลูกเรือ 237 คนที่ออกเดินทางไปกับเรือ 5 ลำ มีเพียง 18 คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จและกลับไปสเปนได้ในปี พ.ศ. 2065
นำโดยควน เซบัสเตียน เอลกาโน นักเดินเรือชาวบาสก์
ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการเดินเรือแทนมาเจลลัน ส่วนลูกเรือลำอื่น ๆ อีก 16 คนมาถึงสเปนในภายหลัง โดย 12 คนในจำนวนนี้ถูกโปรตุเกสคุมตัวที่หมู่เกาะเคป
เวิร์ด
(กาบูเวร์ดี) ระหว่าง พ.ศ. 2068
-2070 และอีก 4 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากเรือตรีนีดัดที่เดินทางไปด้วย แต่เรือแตกในหมู่เกาะโมลุกกะ
ชื่อของมาเจลลันยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของ "เพนกวินมาเจลลัน
" ซึ่งเชื่อกันว่าเขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบ,"เมฆมาเจลลัน" ซึ่งเขาสังเกตเห็นระหว่างการเดินเรือ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าที่จริงเมฆนี้เป็นกลุ่มดาราจักรแคระใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือก
, "ช่องแคบมาเจลลัน"
เส้นทางที่มาเจลลันใช้เดินเรือเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และ "ยานมาเจลลัน" ยานสำรวจที่องค์การนาซา
ส่งไปสำรวจดาวศุกร์
ในช่วงปี พ.ศ. 2533
-2534
วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557
*เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน*
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น