วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี อี
Galileo.arp.300pix.jpg
ภาพวาดกาลิเลโอ โดย จุสโต ซุสเตอร์มันน์
เกิด15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564
เมืองปิซา อิตาลี
เสียชีวิต8 มกราคม ค.ศ. 1642
เมืองอาร์เชตรี อิตาลี
การศึกษามหาวิทยาลัยปิซา
มหาวิทยาลัยแพดัว
อาชีพนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์
องค์การมหาวิทยาลัยปิซา
ผลงานเด่นดาราศาสตร์
จลนศาสตร์
พลศาสตร์
แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล
ศาสนาโรมันคาทอลิก

กาลิเลโอ กาลิเลอี (อิตาลีGalileo Galilei15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่"[1] "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"[2] "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์"[2] และ "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่"[3]

การศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร่งคงที่ ซึ่งสอนกันอยู่ทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาและเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาฟิสิกส์ก็เป็นผลงานของกาลิเลโอ รู้จักกันในเวลาต่อมาในฐานะวิชาจลนศาสตร์ งานศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของกาลิเลโอได้แก่ การใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์คาบปรากฏของดาวศุกร์ การค้นพบดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี ซึ่งต่อมาตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ดวงจันทร์กาลิเลียนรวมถึงการสังเกตการณ์และการตีความจากการพบจุดดับบนดวงอาทิตย์ กาลิเลโอยังมีผลงานด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ซึ่งช่วยพัฒนาการออกแบบเข็มทิศอีกด้วย

การที่ผลงานของกาลิเลโอสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสกลายเป็นต้นเหตุของการถกเถียงหลายต่อหลายครั้งในชีวิตของเขา เพราะแนวคิดเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลนั้นเป็นแนวคิดหลักมานานแสนนานนับแต่ยุคของอริสโตเติล การเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีข้อมูลสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนจากกาลิเลโอช่วยสนับสนุน ทำให้คริสตจักรโรมันคาทอลิกต้องออกกฎให้แนวคิดเช่นนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะขัดแย้งกับการตีความตามพระคัมภีร์[4] กาลิเลโอถูกบังคับให้ปฏิเสธความเชื่อเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในบ้านกักตัวในความควบคุมของศาลศาสนาโรมั

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์ (/iconˈli pæˈstɜr/ภาษาฝรั่งเศส: [lwi pastœʁ] ; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) นักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410

ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว

การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม

ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

5 อันดับคณะที่คนอยากเข่้า


อันดับ 5 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการประถมศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.)

รับ 60 คน สมัคร 1,784 คน อัตราการแข่งขัน 1:30

อันดับ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)

รับ 350 คน สมัคร 1,810คน อัตราการแข่งขัน 1:5

อันดับ 3 คณะครุศาตร์ จุฬาฯ รับ 150 คน สมัคร 1,813 คน อัตราการแข่งขัน 1:13

อันดับ 2 คณะวิทยาศาสตร์ หาดใหญ่ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.)

รับ 160 คน จำนวนผู้สมัคร 1,906 คน อัตราการแข่งขัน 1:12

อันดับ 1 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

จำนวนรับ 56 คน?จำนวนผู้สมัคร2,850 คน อัตราการแข่งขัน 1: 51