วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

*วันภาษาไทยแห่งชาติ*

*วันภาษาไทยแห่งชาติ* ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มาและความสำคัญ
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 ทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย ทำให้ผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นประทับใจ
 
พระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก

รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญตั้งแต่ พ.ศ. 2542

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคำว่า "วัน ดี เดย์" (D Day)

ความหมายของคำว่า "วัน ดี เดย์" (D Day)

วันดีเดย์ หรือที่เรารู้จักกันในคำที่ใช้เรียกวันที่ 6 เดือนมิถุนายน 1944 ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลกว่า 100,000 นายขึ้นฝรั่งเศสใน Operation Overlord จนเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป

จากนั้นมาคำว่าดีเดย์ก็ถูกใช้แทนความหมายของการเริ่มต้นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เช่น ดีเดย์ ชุมนุมใหญ่ วันที่เท่านี้เป็นต้น จนเราเข้าใจว่าการยกพลขึ้นบกในวันนั้นชื่อว่าวัน D Day

ความจริงคำว่า D Day นั่นเป็นศัพท์ทางทหารครับ ซึ่งเป็นการระบุวันที่จะเริ่มปฏบัติการทางทหารต่าง ๆ เช่นสมมุติผมจะเข้าตีฐานข้าศึกในวันที่ 2 เมษายน 2549 ก็หมายความว่า 2 เมษายน คือวัน D Day และก็จะมีศัพท์อีกตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ H Hour ซึ่งก็คือเวลาที่เริ่มปฏิบัติการนั่น ๆ เช่น 8 โมงเช้าเริ่มเข้าตี ฉะนั้น 8 โมงคือ H Hour

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ช็อกโกแลต

*ช็อกโกแลต* หรือ *ช็อกโกเลต* (อังกฤษ
:chocolate) คือผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม
 ลูกอม คุกกี้
เค้ก
 หรือว่าพาย
 ช็อกโกแลตถือได้ว่าเป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกใจคนทั่วโลก

ช็อกโกแลตทำจากการหมัก คั่ว และบดอย่างละเอียดของเมล็ดโกโก้ซึ่งได้มาจากต้นโกโก้เขตร้อน (tropical cacao tree) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง
และเม็กซิโก
 ต้นโกโก้นั้นค้นพบโดยชาวอินเดียนแดง
และชาวอัซเตก (Aztecs) แต่ในปัจจุบันได้แพร่กระจายและปลูกไปทั่วเขตร้อน เมล็ดของต้นโกโก้นั้นมีรสฝาดที่เข้มข้นมาก ผลผลิตของเมล็ดโกโก้รู้จักกันในนาม "ช็อกโกแลต" หรือบางส่วนของโลกในนาม "โกโก้"
ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้รู้จักภายใต้หลายชื่อแตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในอเมริกา
อุตสาหกรรมช็อกโกแลตได้จำกัดความไว้ว่า
  * โกโก้ (cocoa) คือเมล็ดของต้นโกโก้
  * เนยโกโก้
 (cocoa butter) คือไขมัน
ของเมล็ดโกโก้
  * ช็อกโกแลต (chocolate) คือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของต้นโกโก้และเนยโกโก้
ช็อกโกแลตคือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของฝักถั่วโกโก้และเนยโกโก้ ซึ่งได้ผสมน้ำตาลและส่วนผสมอื่น ๆ และทำให้อยู่ในรูปของแท่งและรูปอื่น ๆ
เมล็ดของต้นโกโก้นอกจากทำเป็นช็อกโกแลตได้แล้วยังสามารถทำเป็นเครื่องดื่มได้ด้วย เช่น ช็อกโกแลตร้อน เครื่องดื่มช็อกโกแลตนั้นคิดค้นขึ้นโดยชาวอัซเตก (Aztecs) หลังจากนั้นโดยชนเผ่าอินเดียนแดงและชาวยุโรป
บ่อยครั้งที่ช็อกโกแลตมักจะทำให้อยู่ในรูปของสัตว์
ต่าง ๆ คน
 หรือวัตถุในจินตนาการ เพื่อร่วมในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น รูปกระต่าย
รูปทรงไข่
ในเทศกาลอีสเตอร์
 รูปของเหรียญหรือซานตาคลอส
ในเทศกาลคริสต์มาส
 และรูปทรงหัวใจ
ในเทศกาลวาเลนไทน์

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การทลายคุกบัสตีย์

*การทลายคุกบัสตีย์* ฝรั่งเศส
: Prise de la Bastille; อังกฤษ
: Fall of the Bastille) ในปารีส
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม
 พ.ศ. 2332(ค.ศ. 1789)
แม้ป้อมปราการ
และคุกสมัยกลางในปารีสที่เป็นที่รู้จักในชื่อบัสตีย์นี้มีนักโทษเพียงเจ็ดคน แต่การทลายคุกแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานการณ์รุนแรงและควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส และต่อมา ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐ
ฝรั่งเศส
 ในประเทศฝรั่งเศส วันทลายคุกยังได้เป็นวันหยุดราชการประจำ ซึ่งเรียก "วันบัสตีย์" (Bastille Day) หรือในภาษาฝรั่งเศสว่า "วันที่สิบสี่กรกฎาคม" ("Le quatorze juillet") หรือเดิมเรียก "วันเฉลิมฉลองของสหพันธรัฐ"
("Fête de la Fédération")
มีบันทึกด้วยว่า ในบรรดาปืนใหญ่
ที่ใช้ยิงทลายประตูคุกบัสตีย์นั้น สองกระบอกผลิตในประเทศไทยแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 ปัจจุบันปืนคู่นี้ตั้งแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์
ทหารบกฝรั่งเศส

การปฎิวัติฝรั่งเศส

*การปฏิวัติฝรั่งเศส* (ฝรั่งเศส
: Révolution française) ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค (upheaval) ทางสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนถึงรากฐานในฝรั่งเศสซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสและยุโรปที่เหลือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสผ่านการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย
 ของอภิชนและทางศาสนาหมดสิ้นไปภายใต้การประทุษร้ายอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มการเมืองฝ่ายสาธารณรัฐมูลวิวัติ ฝูงชนบนท้องถนน และชาวนาในชนบท
[1] ความคิดเก่าเกี่ยวกับประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัญชา ของอำนาจพระมหากษัตริย์ อภิชนและศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลันโดยความเสมอภาค ความเป็นพลเมืองและสิทธิที่ไม่โอนให้กันได้ อันเป็นหลักการใหม่แห่งยุคเรืองปัญญา