วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระราชวังแวร์ซาย

*พระราชวังแวร์ซาย* (ฝรั่งเศส
: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย
 ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส
 พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวัง
ที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
ยุคปัจจุบันด้วย"ต้องการอ้างอิง"
ประวัติ
เดิมนั้น เมืองแวร์ซายเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส
 ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายน่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167
 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204
 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231
 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายแห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส
 กับพระนางมารี อองตัวเนต
 ประหารด้วยกิโยติน
 ในวันที่ 16 ตุลาคม
 พ.ศ. 2332
 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อ่านหนังสืออย่างไรให้จำแม่น

อ่านหนังสืออย่างไรให้จำแม่น 

      โดย*เคล็ด**ลับ**การ*ทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่ายๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจ*เคล็ด**ลับ*วิธี*การ*เท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของ*การ*ทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ *การ*หมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัย*การ*อ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจาก*การ*อ่านเพียงเพื่อท่องจำ 

      
     1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
      2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ* *แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
      3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว* *แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
      4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว* *แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
      5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
      6. *การ**เรียน*ด้วยวิธีท่องจำ* *โดยปราศจากความเข้าใจ *เรียน*ไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
      7. *การ**เรียน*ที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ
      8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้
      ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ *การ*อธิบายให้ตัวเองฟัง          
 ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ 
 
 

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

10 สถานที่ท่องเที่ยวใน เกียวโต ที่ไม่ไปไม่ได้


10 สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวใน “เกียวโต” ที่ไม่ไปไม่ได้!!!

1.วัดคิโยมิสึ หรือ วัดน้ำใส「清水寺」

1
ชื่อของวัดมีความหมายว่าน้ำบริสุทธิ์ มีที่มาจากน้ำตกที่ไหลผ่านเนินเขาลงมาบริเวณวัด และยังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่อีกด้วย ใต้อาคารหลักคือ น้ำตกโอตะวะ ซึ่งเป็นสายน้ำ 3 สายไหลลงสู่บ่อน้ำ ผู้มาเยี่ยมชมวัดมักจะมาดื่มน้ำจากน้ำตกนี้ด้วยถ้วยโลหะ ด้วยความเชื่อว่าสามารถบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ และยังเชื่อกันว่าการดื่มน้ำจากสายน้ำตกทั้ง 3 นี้ มีความหมายถึงสุขภาพ อายุยืนยาว และความสำเร็จในการศึกษา ภายในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าอื่นๆจำนวนมาก ที่เป็นที่รู้จักดีคือ ศาลเจ้าจิชู (Jishu-jinja) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสักการะเทพโอะคุนินุชิโนะ มิโกะโตะ (Okuninushino Mikoto) เทพแห่งความรักและเนื้อคู่ ภายในศาลเจ้ามี “ก้อนหินแห่งความรัก” 2 ก้อน ตั้งอยู่ห่างกัน 18 เมตร เชื่อกันว่า หากสามารถหลับตาเดินจากก้อนหินก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่งได้ จะสมปรารถนาในความรัก

2.วัดคิงกะกุจิ「金閣寺」

2มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดโระคุอง「鹿苑寺」มีศาลาทองเป็นจุดเด่นของวัด โดยภายนอกของศาลาถูกตกแต่งด้วยทองคำบริสุทธิ์เหลืองอร่ามทั้งตัวศาลายกเว้นชั้นล่าง ศาลาใช้เป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุของพระพุทธเจ้า ในด้านสถาปัตยกรรมของศาลาทองแห่งนี้มีความโดดเด่นมาก เพราะประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรม 3 แบบที่ไม่ซ้ำกันทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนของศิลปะในแต่ละยุคได้เป็นอย่างดี

3.ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ「伏見稲荷大社」

25.media.tumblr.com-tumblr_lcq3h0KJM81qbvx8lo1_500เป็นศาลเจ้าที่ชาวนาสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 9 เพื่อบูชาจิ้งจอกที่เป็นทูตส่งสารของเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว เทพจิ้งจอก ที่ชาวญี่ปุ่นชื่อว่าเป็น ทูตสวรรค์ ผู้คอยนำข่าวสารจากสรวงสวรรค์ลงมายังโลกมนุษย์ ศาลโทริอิ มีลักษณะเป็นซุ้มประตูสีแดงซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของศาลเจ้า ที่มีมากกว่าร้อยต้นทอดตัวยาวตามเส้นทางของไหล่เขาลดหลั่นกันบนเส้นทางยาวถึง 4 กิโลเมตร

4.วัดเบียวโด「平等院」

4ตั้งอยู่ในเมืองอุจิ ทางทิศใต้ของเมืองเกียวโตประมาณ 30 นาที เป็นวัดที่ปรากฏอยู่บนเหรียญ 100 เยน อาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดในวัดคือ ศาลาหงส์หรือศาลาอมิตาภะ ประกอบด้วยห้องโถงกลางขนาบข้างด้วยปีกระเบียงทั้งสองด้าน และระเบียงที่ด้านหลังศาลา ห้องโถงกลางเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอมิตาภะ หลังคาของศาลามีรูปปั้นหงส์ตั้งอยู่ วัดเบียวโดได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยเป็นส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์แห่งเมืองเคียวโตะ

5.อาราชิยาม่า「嵐山」

5อยู่ทางตะวันตกของเมืองเกียวโต เป็นที่รู้จักดีเพราะมีต้นไผ่ที่สวยงามเรียงรายไปตามทางเดิน เสียงไผ่ที่กระทบกันทำให้รู้สึกสงบและสบายใจทำให้เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ไม่ควรพลาด

6.Kyoto Tower

OLYMPUS DIGITAL CAMERAโตเกียวทาวเว่อร์แม้ว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างใหม่แต่ก็ถือว่าเป็นเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเกียวโต ด้านล่างของหอคอยที่สูง 131 เมตร คุณจะพบกับโรงแรม ร้านค้า หรือแม้กระทั้งห้องอาบน้ำสาธารณะ

7.วัดกิงกะกุจิ「銀閣寺」

7มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดจิโชจิ「慈照寺」สร้างโดยโชกุนโยชิมาสะ อาชิคางะ เมื่อ พ.ศ.2025 ตั้งใจจะห่อศาลาด้วยเงินทั้งหลังให้คู่กับศาลาทองคินคะคิจิ(Kinkakuji) ที่สร้างเสร็จแล้วทางตอนเหนือของเกียวโต แต่ท่าน ได้มาเสียชีวิตก่อนที่ศาลาจะได้ทำการหุ้มด้วยเงิน บริเวณรอบๆศาลาเงินมีพื้นดินที่มีมอสหลากหลายชนิดขึ้นปกคลุม และมีสวนแบบญี่ปุ่น ซึ่งออกแบบโดยโซอามิ ศิลปินนักจัดสวนชื่อดัง โดยเฉพาะสวนหินและทรายที่มีชื่อเสียงมาก มีกองทรายที่กล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนภูเขาไฟฟูจิตั้งอยู่ในสวน พื้นทรายกับกองกรวดสีขาวที่กองอยู่หน้าศาลานั้นเขาจะเอาไว้ให้แสงจันทร์ได้ส่องสะท้อนให้แสงสว่างกระจายไปทั่วบริเวณหน้าวัด

8.ปราสาทนิโจ「二条城」

8เป็นปราสาทสร้างขึ้นจากไม้ทั้งหมดซึ่งแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่นที่มีฐานเป็นก้อนหินภายในปราสาทนิโจประกอบด้วยป้อมปราการที่เรียงตัวเป็นวงแหวนสองชั้น และมีสวนสไตล์ญี่ปุ่นอยู่หลายแห่ง ก่อสร้างขึ้นใน ค.ศ.1569 ภายในท้องพระโรงบริเวณฝาผนังถูกปิดทองด้วยฝีมืออันวิจิตร สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของโชกุนในสมัยเอโดะ ส่วนระเบียงไม้ที่เชื่อมกับตำหนักนิโนะมารุนั้น มีเทคนิคในการสร้างที่ไม่ใช้ตะปูในการยึดพื้นผิว เมื่อมีคนล่วงล้ำเข้ามาจะทำให้พื้นไม้ส่งเสียงดังเหมือนเสียงนกไนติ้งเกิล ส่วนเขตปราสาทด้านทิศใต้จะอยู่ติดกับ “นิโจจินยะ” ซึ่งเดิมเป็นบ้านของคหบดีผู้มั่งคั่งแต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นที่พักแรกสำหรับไดเมียวหัวเมืองที่เข้าเยี่ยมคารวะโชกุน ภายในเต็มไปด้วยประตูกล ทางลับ และห้องลับมากมาย

9.วัดโทจิ「東寺」

9เจดีย์ไม้ 5 ที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น และยังเป็นสัญลักษณ์ของเกียวโตอีกด้วย

10.วัดเท็นริวจิ「天龍寺」

10วัดเท็นริวจิ เป็นวัดที่มีความสวยงามเป็นอันดับต้นๆของวัดในเกียวโต และยังเป็นหนึ่งใน 5 วัดมรดกโลกที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองเกียวโตก็ว่าได้ วัดเท็นริวจิเป็นวัดในศาสนาเซน และเป็นศูนย์กลางของลัทธิรินไซ การจัดสวน หรือแม้แต่ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในวัด ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาเซนทั้งสิ้น ภายในวัดจึงมีความสวยงามแฝงไปด้วยความสงบแบบเซน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของเมืองเกียวโต

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติเอกอัครราชฑูตฝรั่งเศส

ประวัติความเป็นมาในระยะแรก คณะผู้แทนในประเทศสยามของรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นแค่คณะกงสุล ซึ่งต่อมาในปีค.ศ. 1887 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นคณะผู้แทนทางการทูตซึ่งไม่มีเอกอัครราชทูตเป็นผู้นำ (légation) จนกระทั่งปี ค.ศ. 1949 จึงได้มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตคนแรกมาประจำประเทศไทย 

รายนามเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยเรียงลำดับตามเวลาประจำตำแหน่งมีดังต่อไปนี้ 
- นายเลอ ลีเดค (เข้ารับตำแหน่งปีค.ศ.2009)
- นายบีลี่ (เข้ารับตำแหน่งปีค.ศ. 2007)
-นายโอแบล็ง (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2003)
- นายแพร็ตทร์ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 1999)
- นายกอสต์ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1995)
- นายรุมเมอลารดต์ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1993)
- นายแวงซ็ง (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 1989)
- นายบาสตูยล์ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1986)
- นายอาร์โนด์ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 1982)
- นายซูลิเยร์ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 1978)
- นายอองเดร (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1975)
- นายต็อฟแฟง (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1972)
- นายเลสโกต์ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 1968)
- นายคลารัค (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 เมษายน 1959)
- นายเบรอัล (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1958)
- นายอ็อฟฟรัว (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1954)
- นายปอล-บงกูร์ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1951)- นายมาร์ชาล (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 1949)  
ในปีค.ศ. 1857 กงสุลฝรั่งเศสได้เช่าสถานที่แห่งหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากรัฐบาลแห่งประเทศสยาม ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1875 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส จนกระทั่งปัจจุบันสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยตั้งอยู่ ณ ที่นี้มาเป็นเวลากว่า 150