ใบบัวบกเป็นที่รู้จักกันดีในนามสมุนไพรสำหรับ ความทรงจำ (Herb for Brain) มีชื่อทาง
วิทยาศาสตร์ว่า Centella Asiatica พบว่ามี
การนำใบบัวบกมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศ
อินเดียและเป็นส่วนหนึ่งของตำราอายุรเวท
ของชาวอินเดีย นอกจากนี้ใบบัวบกได้รับ
ความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศจีน
มากว่า 2,000 ปี ในปัจจุบันเป็นที่นิยมในแถบ
ประเทศตะวันตกด้านการเป็นเครื่องดื่มสำหรับ
บำรุงระบบประสาทและเสริมการพัฒนาของ
ระบบความจำรวมทั้งป้องกันความจำเสื่อม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ใบบัวบก
ป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
อัลไซเมอร์ โดยยับยั้งการสร้างสารที่ทำลายเซลล์สมองคือ Abeta Toxicity
ในสมองโดยเฉพาะในส่วนฮิปโปแคมบัส
(Hippocampus) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยว
กับความทรงจำ
ลดความเครียดจากการทำงานหนัก ปรับปรุง ระบบการรับส่งกระแสประสาท ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex Reaction) หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว
ดีเอชเอ (DHA) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่ม
โอเมก้า-3 ที่พบมากในปลาทะเล เช่น
ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เป็นต้น ตามปกติ
ร่างกายคนเราสามารถสร้างกรดไขมัน
ไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า-3 จากปฏิกิริยา
กรดอัลฟา ไลโนเลนิค แอซิดกับเอ็นไซม์
ต่างๆ ในร่างกาย จากการศึกษาพบว่า
อาการขาดกรดไขมันดีเอชเอในมนุษย์มี
ความสัมพันธ์กับอาการลดการเรียนรู้และ
ภาวะการณ์ไวต่อแสงของจอเรตินา
การมองภาพไม่ชัดและอาการบวมน้ำ
นอกจากนี้ยังพบว่าการเสื่อมสลายของ
กรดไขมันดีเอชเอในเซลล์ต่างๆ นั้น
ไม่สามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ ดังนั้น การได้รับสารอาหารจำพวกดีเอชเอจากปลา
ทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่าและปลาแซลมอน จึงเป็นการช่วยเสริมระดับการเรียนรู้ ความ
ทรงจำ และช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพการมองเห็น จากรายงานทางการแพทย์ยืนยันว่าการรับประทานดีเอชเอจากปลาทะเลสามารถช่วยดูแลสุขภาพสมองด้านความทรงจำและพัฒนาการของเซลล์สมอง โดยเฉพาะในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดทั้งยังมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพของระบบสมองส่วนกลางได้เป็นอย่างดี
บทบาทของดีเอชเอกับสมองและดวงตา
จากหลักฐานทางการแพทย์ระบุว่า ดีเอชเอ
เป็นองค์ประกอบสำคัญของสมองรวมถึง
เซลล์ประสาทต่างๆ ตลอดจนเซลล์เรตินา
ของดวงตาจึงอาจกล่าวได้ว่า ดีเอชเอมี
บทบาทสำคัญทำให้เซลล์ประสาทและ
เซลล์เรตินาของดวงตาทำงานได้เป็นปกติ
ดังนั้นจึงมีการแนะนำสตรีที่ตั้งครรภ์และให้
นมบุตรรับประทานและมีการเสริมดีเอชเอ
ในอาหารสำหรับทารก เพื่อมุ่งหวังให้
พัฒนาการของเซลล์สมองและเซลล์
ประสาทของทารกเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังมีการใช้กรดไขมันไม่อิ่มตัว
ดีเอชเอกับภาวะสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ
เช่น โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม
(Dementia) ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยง
ต่อการได้รับกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่ม
โอเมก้า–3 ได้น้อยลง โดยเฉพาะใน
กรดไขมันฟอสโฟไลปิด (Phospholipid)
ของเซลล์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงเซลล์สมอง
ด้วยดังนั้นการเสริมสารสกัดดีเอชเอ
จึงเป็นหนทางหนึ่งในการรักษาระดับ
กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในเซลล์ต่างๆ
Miyanaga และคณะได้ทำการทดลอง
เสริมสารสกัดดีเอชเอในปริมาณ 700
มิลลิกรัมต่อวัน ในอาหารสำหรับผู้ป่วย
ด้วยโรคความจำเสื่อม พบว่าผู้ป่วยมี
ความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกของอาการ
ดังกล่าว จากการศึกษาวิจัยพบว่าเซลล์
ประสาทมีการเสื่อมสลายไปทุกระยะ
การรับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3
จะช่วยซ่อมแซมเซลล์ประสาทเหล่า
นั้นได้แม้กับเซลล์สมองของผู้ใหญ่ที่
พัฒนาเต็มที่แล้ว ในปัจจุบันมีรายงาน
ทางการวิจัยระบุว่ากรดไขมันดีเอชเอ
ช่วยทำให้สมองของคนทั่วไปทำงาน
ได้เป็นปกติ โดยพบว่าดีเอชเอในอาหาร
จะช่วยทำให้ความสามารถในการ
เรียนรู้ดีขึ้น ขณะที่อาหารที่ขาดดีเอชเอ
ส่งผลกระทบต่อการเรียนได้
(Horrock and Yeo 1999)