วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เกาะ ฮาชิมะ ญี่ปุ่น

 *เกาะฮาชิมะ อดีตเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ ก่อนจะถูกทิ้งร้างกลายเป็นเกาะสุดเฮี้ยนติดอันดับโลกของญี่ปุ่น*

           เป็นที่ฮือฮาของคอหนังผีอย่างยิ่งทีเดียว สำหรับภาพยนตร์ *"ฮาชิมะ โปรเจกต์"* ของค่าย M39 หลังจากที่ได้ปล่อยทีเซอร์ตัวแรกออกมาให้ได้ชม ก็ทำเอาคอหนังใจจดใจจ่อรอชมกันแทบไม่ไหวแล้ว และเชื่อว่าคงมีหลาย ๆ คนที่สนอกสนใจเรื่องราวของเกาะฮาชิมะ สถานที่รกร้างที่มีเสียงร่ำลือถึงสิ่งลี้ลับอันน่าสะพรึงกลัว แถมเฮี้ยนติดอันดับโลก ว่าเรื่องนี้จริงเท็จหรือไม่ อย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเรื่องราวของ เกาะฮาชิมะ มาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ

            เกาะฮาชิมะ อยู่ห่างจากเมืองนางาซากิ ประมาณ 15 กิโลเมตร สมัยที่เกาะฮาชิมะรุ่งเรืองมันถูกตั้งชื่อว่า *Battleship Island*หรือ *เกาะเรือรบ* ในอดีตเกาะแห่งนี้เต็มไปด้วยถ่านหิน จนเมื่อมีการค้นพบจึงได้เริ่มต้นทำเหมืองถ่านหินกันอย่างจริงจังในปี 2430 ก่อนที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอย่างมิตซูบิชิจะซื้อเกาะดังกล่าวเพื่อพัฒนาเป็นเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ รองรับกับความต้องการถ่านหินในการพัฒนาอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นยุคนั้น จนทำให้มีการอพยพแรงงานและครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะแห่งนี้จนเต็มพื้นที่

           อย่างไรก็ดี เกาะแห่งนี้เป็นเหมือนกับสถานที่คุมขังนักโทษด้วยเช่นกัน เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่น ได้เกณฑ์แรงงานชาวจีนและเกาหลีใต้ที่เป็นจำเลยช่วงสงครามมาทำงานในเหมืองถ่านหิน ทำให้ในสายตาของชาวจีนและเกาหลีใต้มองเกาะฮาชิมะเป็นเหมือนกับสถานที่ที่ทำให้พวกเขาฝันร้ายมาจนถึงปัจจุบัน

            จนกระทั่งปี 2517 มิตซูบิชิได้ประกาศปิดเหมืองบนเกาะฮาชิมะ เนื่องจากพลังงานจากถ่านหินไม่ได้เป็นที่ต้องการของญี่ปุ่นอีกต่อไป โดยทุกคนหันไปให้ความสำคัญกับพลังงานจากน้ำมันแทน ซึ่งหลังจากการปิดตัวลง แรงงานทั้งหมดจึงอพยพออกจากพื้นที่ และปล่อยให้เกาะแห่งนี้เป็นเกาะร้าง ที่ไม่มีแม้กระทั่งต้นไม้หรือดอกไม้ขึ้นอยู่ มีก็แต่เพียงไม้ล้มลุกขนาดเล็กเท่านั้น

           ปัจจุบัน ทางการญี่ปุ่นพยายามที่จะผลักดันให้เกาะฮาชิมะเป็นมรดกโลก โดยยื่นเรื่องไปยังองค์การยูเนสโก แต่กลับถูกทางการเกาหลีใต้คัดค้าน เพราะมองว่าเกาะฮาชิมะ คือบาดแผลสงครามที่ยังหลงเหลืออยู่ และทำให้ชาวเกาหลีใต้และชาวจีน รู้สึกเจ็บปวดทุกครั้ง ที่มีการกล่าวถึงเกาะนี้

            อย่างไรก็ตาม แม้จะยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เกาะฮาชิมะสมควรจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไม่ *แต่ปัจจุบันเกาะแห่งนี้ก็มีชื่อเสียงอย่างมากจากการถูกนำไปใช้เป็นฉากจำลองในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ Skyfall จนทำให้เกาะแห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น*

            นอกจากนี้ เกาะฮาชิมะเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเมื่อ 4 ปีก่อน แต่จนถึงตอนนี้ มีนักท่องเที่ยวเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ เพราะทางการญี่ปุ่นจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้แต่ละปีมีผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มาเที่ยวที่นี่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

เกาะฮาชิมะ ญี่ปุ่น

*อาถรรพ์ระหว่างถ่ายทำ Battle Royale*

            ก่อนหน้าที่เกาะฮาชิมะจะถูกใช้เป็นสถานที่จำลองในการถ่ายทำภาพยนตร์ Skyfall นั้น สถานที่นี้ยังเคยถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง* "Battle Royale"*โดยผู้กำกับคินจิ ฟูกาซากุ ได้ยืนยันว่า เกาะนี้มีอาถรรพ์จริง ๆ นั่นยิ่งทำให้ชื่อเสียงของเกาะนี้โด่งดังขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

           โดย ผู้กำกับคินจิ ฟูกาซากุ เปิดเผยว่า ในระหว่างการถ่ายทำได้พบสิ่งผิดปกติอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะพบคนอื่นที่ไม่ใช่ทีมงานถูกถ่ายติดเข้ามาในฉาก หรือ ฟิล์มเสียทั้ง ๆ ที่เพิ่งใช้งาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กองถ่ายยังคงต้องดำเนินต่อไป เพื่ออรรถรสของภาพยนตร์อย่างมากที่สุด

            และเหตุการณ์ที่ผวาที่สุดในกองถ่าย จนทำให้กองถ่ายต้องหยุดพักอยู่เป็นอาทิตย์ ก็คือ ชิอากิ คูริยามา นักแสดงหญิงคนหนึ่ง ซึ่งรับบทเป็นนักเรียนได้เข้าฉาก และเธอได้ถูกบางสิ่งบางอย่างครอบงำตัวเธอ

           จากคำบอกเล่าของทุกคนที่เห็นเหตุการณ์บอกว่า ดวงตาของเธอกลายเป็นสีแดงก่ำ และนัยน์ตาของเธอเบิกโพลงดูแข็งกร้าวขึ้น หลังจากนั้นเธอได้พุ่งเข้ามาหา โคอุ ชิบาซากิ หนึ่งในนักแสดงหญิง และทำการรัดคอเธออย่างแรง ทางทีมงานเห็นท่าไม่ดีจึงได้เชิญมิโกะหญิงที่เดินทางมาด้วย จัดการขับไล่วิญญาณร้ายจนสำเร็จ

            หลังจากวิญญาณนั้นออกจากร่าง เธอบอกว่า *"สถานที่นี้มีดวงวิญญาณที่มีความอาฆาตแค้นอยู่มาก และยากที่จะขจัดออกไปได้ เพราะที่ตรงนี้ คือสถานที่ของพวกเขา"*

           นอกจากนี้ เมื่อทีมงานได้สอบถามนักแสดงสาว ชิอากิ ว่าเธอรู้สึกยังไงตอนที่เธอถูกผีสิง เธอบอกว่า *"เธอเห็นผู้หญิงผมยาว ลอยผ่านตัวเธอ และหลังจากนั้นเธอก็จำอะไรไม่ได้อีกเลย"* นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ความน่าสะพรึงกลัวและความสยองขวัญของทุกคนที่เข้าฉาก

บุคคลสำคัญของประเทศฝรั่งเศส

หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ( พ.ศ. 2365-2395) นักวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410
หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์
ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลลิ ซึ่งเป็นเป็นสมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม
ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่โลก

อาลีเซ

อาลีเซ ("Alizée")
Alizée Jacotey - Chanteuse Francaise - Paris - 3 December 2007 - DSC 1665bis.jpg

ข้อมูลพื้นฐาน
*ชื่อเกิด*อาลีเซ ฌากอเต
*ชื่อเล่น*อาลีเซ
*วันเกิด*21 สิงหาคม
 พ.ศ. 2527

*เกิดที่*คอร์ซิกา
 ประเทศฝรั่งเศส

*แนวเพลง
*เวิร์ล, ป๊อป
, อิเล็กโทรป๊อป, ร็อก

*อาชีพ*นักร้อง
*ปี*พ.ศ. 2542
 - ปัจจุบัน
*ค่าย
*โพลีดอร์ (2543
 - 2550
)
อาร์ซีเอ เรคอร์ดส์ (2550
 - ปัจจุบัน)
*เว็บไซต์*Alizee-officiel.com

*อาลีเซ ฌากอเต* (Alizée Jacotey; 21 สิงหาคม
 พ.ศ. 2527
 — ) นักร้อง
ชาวฝรั่งเศส
 โดยใช้ชื่อการแสดงว่า *อาลีเซ* (Alizée) เกิดที่เมืองอาฌักซีโย เกาะคอร์ซิกา
 โดยมีผลงานที่มีชื่อเสียงหลายเพลง และมีผลงานอัลบั้ม และซิงเกิลที่ได้ขึ้นอันดับในชาร์ทของประเทศฝรั่งเศส
และหลายประเทศในทวีปยุโรป
อาลีเซเริ่มต้นชีวิตการแสดงโดยได้แสดงเต้นรำเมื่ออายุได้ 4 ปี และได้เข้าเรียนในโรงเรียนเต้นที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในเมือง ต่อมาในปี 2542 เธอได้พยายามเข้าประกวดเต้นรำในรายการทีวีรายการหนึ่งแต่ทว่าเกิดการปิดรับสมัคร และชื่อของอาลีเซได้ไปอยู่ในรายชื่อผู้เข้าประกวดร้องเพลงแทน ซึ่งผลปรากฏว่าอาลีเซชนะเลิศการประกวดร้องเพลงในการแข่งขันนั้น และทำให้เป็นที่จับตามองของนักร้องหญิงชื่อดัง Mylène Farmer ที่กำลังค้นหานักร้องเด็ก ต่อมาอาลีเซได้ออกซิงเกิล
 ชุดแรก คือ "Moi... Lolita" และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และในปัจจุบันได้มีผลงานเพลงออกมาทั้งหมด 7 ซิงเกิล และ 3 อัลบั้ม

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นักประพันธ์ดนตรี

10. Chopin ผู้ประพันธ์เพลงและนักเปียโนเลือดผสมฝรั่งเศส - โปแลนด์ เกิดที่หมู่บ้านเซลาโซวา โวลา (Zelazowa Wola) ใกล้ กรุงวอร์ซอว์ (Warsaw) ประเทศโปแลนด์ (Poland) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1810 โชแปงเกิดในประเทศโปแลนด์ แต่ใช้ชีวิตตั้ง แต่วัยหนุ่มอยู่ในปาริสจนถึงแก่กรรม วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1849 โชแปงมีพี่น้องผู้หญิงอีก 3 คน ส่วนเขาเป็นลูก ผู้ชายคนเดียว พ่อแม่จึงรักมาก โชแปงเป็นคนที่มี รูปร่างบอบบางจิตใจอ่อนไหวง่ายมีความรักชาติมากตั้งแต่เด็ก ๆ จนเป็นแรงบันดาล ใจให้เขาประพันธ์ดนตรีสำหรับเปียโนไว้มากมาย โชแปงเริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุ 7 ขวบกับครูดนตรีชื่อ อดาลแบต์ ซิวนี (Adalbert Zywny) ชาวโบฮีเมีย เนื่องจากครูคนนี้ชอบดนตรีของบาค โมสาร์ท และเบโธเฟน เป็นพิเศษจึงถ่ายทอดความคิดของ เขาให้โชแปง ต่อจากนั้นโชแปงได้เรียนกับครูคนใหม่ชื่อโยเซฟ เอ็ลสเนอร์ (Joseph Elsner) จนกระทั่งอายุได้ 16 ปีก็เข้าสถาบันดนตรีแห่งวอร์ซอว์ ซึ่งเอ็ลสเนอร์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ ณ จุดนี้เองที่ทำให้โชแปงเรียนดนตรีอย่างเต็มที่ (ไพบูลย์ กิจ สวัสดิ์, 2535 :105) ในสมัยนั้นเป็นช่วงของการอภิวัฒน์ทางศิลป์ และศิลปินเริ่มมีความสำคัญต่อสังคมมากขึ้น ทั้งนักดนตรี นักวาดรูป และนักประพันธ์ สามารถสมาคมกับข้าราชการหรือเจ้านายชั้นสูงในฐานะเท่าเทียมกัน โชแปงได้รับเชิญไป บรรเลงเปียโนเสมอมาจากการบรรเลงนี้รวมทั้งการสอนดนตรี ทำให้โชแปงสามารถช่วยตัวเองให้ดำรงอยู่ได้9. Tchaikovsky ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียคนแรกที่เป็นที่รู้จักในวงการนานาชาติ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คน ของ อิลยา เปโตรวิช ไชคอฟสกี (Ilya Petrovititch Tchaikovsky) และ อเลกซานดรา (Alexandra) เกิดที่เมืองว็อทกินสค์ (Voltkinsk) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1840 เป็นผู้ประพันธ์เพลงยอดนิยมคนหนึ่งในบรรดาผู้ประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกดนตรี ไชคอฟสกีเป็นคีตกวีที่แปลกไปกว่าท่านอื่น ๆ กล่าวคือทุกๆคนมักจะเรียนและเล่นดนตรีเก่งชนิดอัจฉริยะ ตั้งแต่อายุยังน้อยส่วนไชคอฟสกีมา เริ่มเรียนดนตรีจริงจังก็เมื่ออายุ 21 ปี เนื่องจากเขาต้องเรียนกฎหมาย ตามความต้องการของพ่อจนกระทั่งจบปริญญาตรีทางกฎหมาย และออกมาทำงานรับราชการในกระทรวงยุติธรรม แต่ด้วยความสนใจและความชอบซึ่งมีเป็นทุนอยู่แล้วไชคอ ฟสกีจึง หันเหชีวิตมาเรียนดนตรีอย่างจริงจังในสถาบันดนตรีแห่งเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในวิชาการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) เทคนิคการเล่นเปียโนและออร์แกน ชีวิตของไชคอฟสกีก็คงเหมือน ๆ กับคีตกวีคนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป กล่าวคือมีทั้งสุขและทุกข์ระคนกันไปชีวิตเหมือนนิยายมากกว่าชีวิตจริง เพราะยามที่ตกอับจะมีกินก็เพียงประทังความหิว และมีที่อยู่อาศัยเพียงแค่ซุกหัวนอน ในยามเมื่อคนอื่นไม่เห็นคุณค่าผลงานของเขาก็ไม่มีค่าอะไร แต่ยังดีที่มีผู้ที่ เห็นความสำคัญและคอยจุนเจือค้ำจุนเสมอมาอย่างแทบไม่น่าเชื่อเธอผู้นั้นก็คือ มาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) เศรษฐีนีหม้ายผู้มั่งคั่ง เธอให้เงินสนับสนุนไชคอฟสกีโดยไม่เคยหวังผลตอบแทนใด ๆ เธอมีความสุขที่ได้มีโอกาสสนับสนุน ผู้อื่นให้ทำงานที่เธออยากทำแต่ทำไม่ได้ เพราะเธอเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักประพันธ์ดนตรีแต่ไม่สามารถทำได้ด้วยใจรักดนตรีในยามว่างจากภาระกิจเธอมักจะนั่งฟังดนตรีเสมอ ดั้งนั้นเธอจึงทดแทนส่วนนี้ด้วยการสนับสนุน ตามความเป็นจริงแล้วถ้า หากในโลกนี้มีคนดีอย่างมาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) มาก ๆ คงเป็นการดีและทำให้คนในวงการดนตรีมีโอกาสผลิตผลงานที่ดีออกสู่สาธารณะชนมากขึ้น ไชคอฟสกีผู้ซึ่งในระหว่างที่มีชีวิตอยู่เขาไม่เคยได้รับเกียรติอย่างจริงจังจากชาว รัสเซียเลยตรงกันข้ามกับทางยุโรปและอเมริกานิยมชมชื่นในตัวเขามากขณะที่ชื่อเสียงกำลังโด่งดังอยู่นั้นเขาก็ด่วนจบชีวิตลงเสียก่อนซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่มากที่พยายามสร้างงานมากมายแต่บัดนี้เขาเป็นคีตกวีที่ชาวรัสเซียภูมิใจมากที่สุด (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :171) ไชคอฟสกีถึงแก่กรรมด้วยโรคอหิวาต์ซึ่งเกิดจากความไม่เฉลียวใจหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จไชคอฟสกีไปเปิดน้ำประปาที่ก๊อกมาดื่มโดยไม่ได้นำมาต้มเสียก่อน เพราะขณะนั้นที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์กมีโรค ระบาดพอดีและมีคนคอยเตือนแล้ว ในที่สุดก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 . ผลงานที่มีชื่อเสียง ผลงานที่เด่นประกอบด้วย Romeo and Juliet : Fantasy Overture 1870, Swan lake 1875-76, Eugene Onegin:Waltz 1879, The Nutcracker-Nutcracker March 1892….8. Handel บิดาของฮันเดล นายจอร์จ ฮันเดล เกิดเมื่อปีค.ศ. 1622 เป็นศัลยแพทย์และช่างโกนหนวด นับถือนิกายลูเธอรัน และกลายเป็นพ่อหม้ายเมื่อปีค.ศ. 1682 เขาแต่งงานในปีต่อมากับโดโรเธอา เทาสต์ บุตรีของปาสเตอร์ที่อ่อนกว่าเขาหลายปี จอร์จ เฟรดริก เป็นบุตรชายคนโตของทั้งสอง และมีน้องสาวอีกสองคน บิดาใฝ่ฝันให้ฮันเดลประกอบอาชีพทางด้านกฎหมาย แม้ว่าเขาจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถโดดเด่นเกินวัยทางดนตรีก็ตาม พ่อยอมให้ฮันเดลเรียนดนตรีอย่างเสียไม่ได้ กับนักจัดแสดง ดนตรีชื่อเฟรดริก วิลเฮล์ม ซาโชว ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้ทางดนตรีให้แก่ฮันเดลอย่างสมบูรณ์แบบ เขาหัดเล่นฮาร์ปซิคอร์ด ออร์แกน ไวโอลิน และโอโบ เขาเริ่มประพันธ์เพลงสำหรับเครื่องดนตรีและสำหรับขับร้องตั้งแต่วัยเยาว์ ในปีค.ศ. 1697 ขณะพำนักอยู่ที่นครเบอร์ลิน เขามีโอกาสได้พบกับกษัตริย์แห่งปรัสเซีย แต่เขาก็กลับมาที่เมืองฮัลล์ตามคำขอของบิดา ผู้ซึ่งเสียชีวิตเพียงสี่วันก่อนที่เขาจะเดินทางกลับถึงบ้าน เพื่อแสดงความเคารพต่อบิดา เขาก็ได้เขารับการศึกษาในสถาบันแห่งหนึ่ง พร้อมไปกับการเล่นดนตรี ราวปีค.ศ. 1702 เขาได้รับตำแหน่งในมหาวิหารเมืองฮัลล์ ในฐานะผู้จัดการแสดง และได้มีโอกาสผูกมิตรกับจอร์จ ฟิลิปป์ เทเลมันน์7. Verdi ผู้ประพันธ์เพลงประเภทโอเปร่า ชาวอิตาเลียน เกิดที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในเมืองรอนโคล (Le Roncole) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองบุสเซโต (Busseto) เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1813 เป็นลูกชายของคาร์โล แวร์ดี (Carlo Verdi) และลุยเจีย (Luigia) เป็นผู้ที่ยุ่ง เกี่ยวกับวงการเมืองของอิตาลีมาตลอดนอกเหนือจากเป็นนักดนตรี เมื่ออายุ 10 ขวบ พ่อได้ส่งเขาไปเรียนหนังสือที่เมืองบุสเซโต ซึ่งอยู่ห่างจากรอนโคลประมาณ 3 ไมล์ พ่อได้นำเขาไปฝากไว้กับเพื่อนที่สนิทคนหนึ่งมีอาชีพเป็นช่างซ่อมรองเท้าอยู่ ในเมืองนั้นเมื่อมีเวลาว่างแวร์ดีมักจะไปขลุกอยู่กับแอนโตนิโอ บาเรสซี่ (Antonio Barezzi) เจ้าของร้านขายของชำผู้มั่งคั่งและที่สำคัญที่สุดก็คือที่นั่นมีแกรนด์เปียโนอย่างดีทำมาจากกรุงเวียนนา แวร์ดีมักจะมาขอเขาเล่นเสมอ ๆ เมื่อบาเรสซี่เห็น หน่วยก้านเด็กคนนี้ว่าต่อไปอาจจะเป็นนักดนตรีผู้อัจฉริยะ จึงรับมาช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ร้านขายของชำของเขาในตอนเย็นหลังจากเลิกโรงเรียนแล้วจากนั้นไม่นานนักเขาก็ตัดสินใจรับเด็กน้อยแวร์ดีมาอยู่ที่ร้านและอยู่ในความอุปการะของเขา ที่ นี่เองเด็กชายวัย 14 ขวบ ก็ได้เล่นเปียโนดูเอทคู่กับมาร์เกริตา (Margherita) เด็กหญิงวัย 13 ขวบ ซึ่งเป็นลูกสาวของบาเรสซี่นั่นเอง ซึ่งต่อมาทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1836 บาเรสซี่มักจะใช้เวลาส่วนมากมาคอยดูแลและนั่งฟัง เด็กน้อยทั้งสองเล่นเปียโนด้วยความพอใจอย่างยิ่งเขาให้ความรักและสนิทสนมกับเด็กน้อยแวร์ดีอย่างลูกชายของเขาทีเดียว ผลงานส่วนใหญ่ของแวร์ดี คืออุปรากรหรือโอเปร่า (Opera) เพราะสมัยของแวร์ดีนั้น ชาวอิตาเลียนชอบชมอุปรากรมาก แวร์ดีเป็นคนที่มีความเสียสละมาตลอดชีวิตเมื่อภรรยาและตัวเขาเองตายไปแล้วทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ถูกนำไปใช้สร้างอาคารสงเคราะห์ให้เป็นที่พักอาศัยของนักดนตรีที่ยากจนนอกนั้นก็นำไปใช้สร้าง โรงแสดงดนตรีแวร์ดี (Verdi Concert Hall) และพิพิธภัณฑ์แวร์ดี (Verdi Museum) ในเมืองมิลาน เป็นอนุสาวรีย์เตือนชาวโลกให้รำลึกถึงเขาในฐานะคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ของ อิตาลีและของโลก การมรณกรรมของเขาจึงมิใช่เป็นการสูญเสียผู้ประพันธ์โอเปร่าที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น ผลงานที่มีชื่อเสียง ผล งานโอเปร่าที่เด่นประกอบด้วย Nabucco : Chorus 1842, Macbeth : Aria from Act III 1847,La traviata 1853, Aida : Triumphal Scene 18716. Brahms ผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นอีกคนหนึ่งชาวเยอรมัน แต่มาตั้งรกรากใช้ชีวิตนักดนตรีจนถึงแก่กรรม ณ กรุงเวียนนาเกิดที่เมืองฮามบวร์ก (Hamburg) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1833 บิดาชื่อ โยฮัน ยาค็อบ บราห์มส์ (Johann Jakob Brahms) ซึ่งเป็นนักดนตรี ที่เล่นดับเบิลเบส (Double bass) ประจำโรงละคร เมืองฮามบวร์ก ในวัยเด็กบราห์มส์แสดงให้พ่อเห็นพรสวรรค์ทางดนตรีพออายุราว ๆ 5-6 ขวบพ่อก็เริ่มสอนดนตรีเบื้องต้นให้ ครอบครัวของเขาค่อนข้างยากจนพ่อและแม่ต้องดิ้น รนและประหยัดเพื่อ หาครูที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้มาสอนเปียโนและการประพันธ์ดนตรีให้แก่ลูกน้อยพ่อเองเคยได้รับบทเรียนมาก่อนเมื่อถูกกีดกันไม่ให้เรียนดนตรีในวัยเด็กต้องแอบฝึกซ้อมเอาเองเท่าที่โอกาสด้วยความที่พ่อเองรักดนตรีและบราห์มส์ก็ชอบดนตรีอย่างพ่อ พ่อจึงสนับสนุนอย่างเต็มที่แม่เองก็เป็นคนที่รักดนตรีเช่นกันดังนั้นเขาจึงไม่มีอุปสรรคในเรื่องการเรียนดนตรีมีก็แต่ความขัดสนเรื่องเงิน อย่างไรก็ตามเพื่อให้ความหวังเป็นจริงพ่อจึงคิดหารายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่จึงแยกตัวออกจากวงออร์เคสตร้า มาตั้งวงขนาดย่อม ๆ แบบวงดนตรีเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) รับจ้างเล่นตามสถานที่ต่าง ๆ (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :176) บราห์มส์เรียนเปียโนกับ คอสเซ็ล (Cossel) เมื่ออายุ 8 ขวบ จากนั้นพออายุได้ 10 ขวบ ก็เปลี่ยนไปเรียนกับ มาร์ก เซ็น (Marxsen) บราห์มส์ประพันธ์ดนตรีและรับจ้างเรียบเรียงแนวบรรเลงให้กับวงดนตรีเล็ก ๆ ตามร้านกาแฟและวงดนตรีของพ่อด้วย เขาเคยบอกว่ามีบ่อยคร